This is an animated dialog which is useful for displaying information. The dialog window can be moved, resized and closed with the 'x' icon.
คำตอบ : ตามคำถามของท่าน ส.ป.ก. ขอตอบและเรียนให้ท่านทราบ ดังนี้
ที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้นหากมีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ส.ค.๑ น.ส. ๒ และ น.ส.๓ ที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินสามารถนำไปออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ แต่ถ้าไม่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่สามารถนำไปออกโฉนดที่ดินได้
กรณีเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ทับซ้อนกับพื้นที่มี ส.ค.๑ น.ส. ๒ น.ส.๓ หรือนอกเขตปฏิรูปที่ดินที่สามารถออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือโฉนดที่ดินได้ ประสงค์จะออกเอกสารสิทธิในที่ดินของกรมที่ดิน ต้องนำเอกสาร ส.ป.ก. ๔-๐๑ มาคืน ส.ป.ก.จังหวัด พร้อมยื่นเรื่องขอให้ ส.ป.ก.จังหวัด ยกเลิกเอกสาร ส.ป.ก. ๔-๐๑ ฉบับดังกล่าว
โดย ส.ป.ก. ได้มีบันทึกข้อตกลงกับกรมที่ดิน เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
๑. กรณีที่มีผู้ยื่นคำขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะทำการตรวจสอบเอกสาร ดำเนินการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์เสร็จแล้ว จะสำเนาหลักฐาน เช่น คำขอออกเอกสารสิทธิ หลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน แผนที่๑:๕๐,๐๐๐ ใบไต่สวนหรือแบบบันทึกการสอบสวนและพิสูจน์ทำประโยชน์เฉพาะราย รายงานผลการรังวัด (ร.ว.๓) และรูปแผนที่กระดาษบาง (ร.ว.๙) ที่ได้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องแล้วให้ ส.ป.ก.พิจารณาก่อนว่าจะคัดค้านการออกเอกสารสิทธิในที่ดินนั้นๆ หรือไม่
๒. เมื่อ ส.ป.ก.ได้รับเอกสารจากสำนักงานที่ดินจังหวัดแล้วให้ ส.ป.ก. แจ้งสำนักงานที่ดินจังหวัดทราบโดยเร็ว และให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดินต่อไป เว้นแต่ว่า ส.ป.ก.จังหวัด เห็นว่าหลักฐานดังกล่าวแตกต่างไปจากข้อมูลที่ ส.ป.ก.มีอยู่ อันเป็นเหตุให้คัดค้านได้ว่า ส.ป.ก.มีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ยื่นคำขอออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ให้ ส.ป.ก.จังหวัด คัดค้านโดยแจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลและหลักฐานไปยังสำนักงานที่ดินภายในกำหนดเวลาตามประกาศการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่ดินแล้วแต่กรณี ทำการสอบสวนเปรียบเทียบตามอำนาจหน้าที่
๓. กรณีที่ราษฎรยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) มาเป็นหลักฐาน เมื่อสำนักงานที่ดินส่งเรื่องพร้อมหลักฐานให้ ส.ป.ก.จังหวัด แล้ว ส.ป.ก.จังหวัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานให้แก่ ส.ป.ก.ส่วนกลางเพื่อตรวจสอบกับระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ เพื่อตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ในพื้นที่แปลงนั้นเมื่อ ส.ป.ก.ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจะได้แจ้ง ส.ป.ก.จังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณาแจ้งผลแก่สำนักงานที่ดินต่อไป (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาตามนโยบาย เพื่อให้มีความรอบคอบในการป้องกันการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ โดยใช้ ส.ค.๑)
๔. เมื่อดำเนินการครบถ้วนตามกระบวนงานที่กำหนดแล้ว หาก ส.ป.ก. มิได้คัดด้านการขออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินข้างต้น และแจ้งสำนักงานที่ดินแล้ว ส.ป.ก.จังหวัด จะนำรายชื่อและแปลงที่ดินดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเพิกถอนมติการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์และยกเลิกเอกสาร ส.ป.ก. ๔-๐๑ ฉบับดังกล่าว
ตามขั้นตอนการดำเนินงาน ในการยื่นเรื่องถึง ส.ป.ก.จังหวัด จนถึงการยกเลิกเอกสาร ส.ป.ก. ๔-๐๑ จะใช้ระยะเวลาประมาณ ๖ – ๘ เดือน ขึ้นอยู่ว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเมื่อใด และ ส.ป.ก.จังหวัด นำเรื่องการเพิกถอนเอกสารนั้นเข้าพิจารณา
ทั้งนี้ ให้ท่านได้โทรศัพท์ติดตามเรื่อง หรือติดต่อสอบถาม ส.ป.ก.จังหวัด นั้นเป็นระยะๆ
ตอบโดย : สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.
การขอออกโฉนดที่ดินด้วยเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่สามารถนำไปออกโฉนดที่ดินได้ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ได้แก่ ส.ค.๑ หรือ น.ส.๒ หรือ น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. ซึ่งได้มีมาก่อน ส.ป.ก.ได้รับที่ดินนั้นมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน โดยผู้ถือครองสามารถนำไปยื่นขอออกโฉนดที่ดินได้ที่สำนักงานที่ดินแม้ว่าจะมีเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ แล้วก็ตาม
ส.ป.ก. และกรมที่ดิน มีบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการตรวจสอบที่ดินแปลงดังกล่าวว่าจะคัดค้านการออกโฉนดที่ดินหรือไม่ ซึ่งหากที่ดินแปลงดังกล่าวมีแนวเขตชัดเจนไม่ล้ำแปลงรอบข้าง ส.ค.๑ นั้น ออกมาโดยชอบของกฎหมายเป็นพื้นที่แปลงนั้นจริง และข้อมูลการแจ้ง ส.ค.๑ ของราษฎรไม่ทับซ้อนกับที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ เนื้อที่ที่รังวัดใหม่ไม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามหลักฐาน ส.ค.๑ หากมีข้อแตกต่างได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดแล้ว ก็เป็นหลักสำคัญในการไม่คัดค้าน
ข้อกำหนดในปัจจุบัน ส.ป.ก.กำหนดเป็นนโยบายดำเนินการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดิน เพื่อป้องกันการนำหลักฐานที่กล่าวมา (ส.ค.๑ และ น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. ที่ออกสืบเนื่องมาจาก ส.ค.๑) ไปขอออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ โดยตรวจสอบกับแผนที่รูปถ่ายทางอากาศฉบับที่จัดทำขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการมีอยู่ถึงร่องรอยการทำประโยชน์ ซึ่งกำหนดให้ ส.ป.ก.จังหวัดส่งหลักฐานการขอออกโฉนดที่ดินในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินให้ ส.ป.ก.ส่วนกลางตรวจสอบก่อน เมื่อได้รับการแจ้งผลการตรวจสอบจาก ส.ป.ก. แล้ว ส.ป.ก.จังหวัดจะนำไปพิจารณาเพื่อแจ้งสำนักงานที่ดินว่าจะคัดค้านการออกโฉนดที่ดินแปลงนั้นหรือไม่
เนื่องจากมีผู้ยื่นเรื่องขอออกโฉนดที่ดินตามที่กล่าวมาจำนวนมากที่ส่งเรื่องให้ ส.ป.ก.ตรวจสอบ จึงทำให้การตรวจสอบและแจ้งผลให้ ส.ป.ก.จังหวัดล่าช้า ซึ่ง ส.ป.ก.ได้มีการเร่งรัดการดำเนินงานให้รวดเร็วขึ้นแล้ว
ทั้งนี้ ท่านสามารถแจ้งที่ ส.ป.ก.จังหวัดเพื่อให้เร่งรัดติดตามเรื่องให้แก่ท่านได้
ตามที่ท่านกล่าวมาถือเป็นอุทาหรณ์ อันสำคัญเพราะว่าก่อนที่ ส.ป.ก.จะดำเนินการจัดที่ดินแห่งพื้นที่ใดจะมีการแจ้งให้ผู้ถือครองที่ดินดังกล่าวทราบและเข้าร่วมกระบวนการจัดที่ดิน ซึ่งจะมีการสำรวจรังวัด สอบสวนสิทธิ พิจารณาคัดเลือกให้เกษตรกรได้รับการจัดที่ดิน และมอบเอกสารสิทธิในที่ดินให้เกษตรกร การที่เราไม่เข้าสู่กระบวนการจัดที่ดินจึงเกิดผลให้ที่ดินที่เราทำประโยชน์อยู่มีผู้อื่นนำไปอ้างสิทธิกับเจ้าหน้าที่ และเกิดการจัดที่ดินผิดพลาดได้
หากมีการจัดที่ดินผิดพลาด ดังกรณีของท่านที่ได้ยื่นเรื่องคัดค้านไว้แล้วนั้น ส.ป.ก.จังหวัดจะเป็นผู้สืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่ามีการจัดที่ดินผิดพลาดจริง มิใช่เป็นการหลบเลี่ยงกฎหมายที่มีการซื้อขายที่ดินกัน จะใช้ระยะเวลาในการสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริง นำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพื่อยกเลิกการจัดที่ดินส่วนที่ผิดพลาด และจัดให้ผู้ถือครองทำประโยชน์ให้ถูกต้อง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานาน
ทั้งนี้ ท่านมิต้องกังวลเพราะหากเราเป็นผู้ถือครองทำประโยชน์อยู่อย่างเต็มความสามารถ และได้ยื่นเรื่องคัดค้านการจัดที่ดินให้ผู้อื่นในแปลงดังกล่าวไว้แล้ว ส.ป.ก.จังหวัดจะต้องดำเนินการต่อไป หากท่านเห็นว่าระยะเวลานานไป ท่านสามารถโทรศัพท์หรือสอบถามหรือยื่นเรื่องเร่งรัดได้กับ ส.ป.ก.จังหวัดนั้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
ตอบโดย สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.
ที่ดินของรัฐที่ ส.ป.ก.ได้รับมอบมาดำเนินการจัดให้เกษตรกรซึ่งถือครองทำประโยชน์อยู่เดิมเข้าทำประโยชน์ จะมอบสิทธิเป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑)
กรณี ที่ดินแปลงเกษตรกรรมหรือที่ดินทำกิน ใช้แบบพิมพ์จำนวน ๔ แบบ คือ (๑) ส.ป.ก. ๔-๐๑ (๒) ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก (๓) ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข และ (๔) ส.ป.ก. ๔-๐๑ ค ที่ออกให้อยู่ในปัจจุบัน คือ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข สำหรับแบบอื่นๆ ได้ยกเลิกการออกให้ แต่ที่ออกให้ไปแล้วยังคงใช้ได้และถูกต้องตามกฎหมาย
สำหรับที่ดินแปลงชุมชนหรือที่ดินอยู่อาศัย จะใช้แบบ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ช
ที่ดินตามที่ให้สิทธิกับเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ผู้ที่มีสิทธิไปยื่นขอออกโฉนดที่ดินกับกรมที่ดินได้จึงมีเพียง ส.ป.ก. เท่านั้น เกษตรกรที่ได้รับเอกสารสิทธิตามที่กล่าวมาเป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งไม่สามารถไปยื่นขอออกโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.๓ กับกรมที่ดินได้
ดังนั้น ส.ป.ก.ไม่สามารถที่จะโอนที่ดินไปให้กรมที่ดินดูแลได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินตามที่กฎหมายกำหนด โดยการจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์หมุนเวียนสู่ผู้ไม่มีที่ดินทำกินต่อไป
ก่อนอื่น ส.ป.ก.ขอทำความเข้าใจก่อนว่าที่ดินที่ ส.ป.ก.จัดให้เกษตรกร โดยให้สิทธิอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ไม่สามารถนำไปขาย หรือให้ผู้อื่นเข้าทำประโยชน์ได้ นอกจากจะโอนสิทธิให้กับทายาทโดยธรรม ประกอบด้วย (๑) คู่สมรส (๒) บุตร (๓) พ่อหรือแม่ (๓) พี่หรือน้อง และ (๔) หลาน (ลูกชองลูก หรือลูกของพี่ หรือลูกของน้อง) เท่านั้น
ท่านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม (ลูกของน้อง) มีสิทธิที่จะรับการโอนสิทธิในที่ดินได้ ตามกฎหมาย ส.ป.ก. ผู้ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินต้องทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเองพร้อมครอบครัว
การนำที่ดินไปประกันการรับสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ผู้ได้รับสิทธิสามารถดำเนินการได้ แต่หากจะทำการโอนสิทธิต้องดำเนินการชำระหนี้ให้หมดเสียก่อนเพื่อนำเอกสารสิทธิมาทำการโอนสิทธิ หรือต้องทำความตกลงกับ ธ.ก.ส. ว่าผู้ใดจะรับจ่ายเงินที่คงค้าง หรือใช้หลักประกันอย่างอื่นตามที่ ธ.ก.ส.กำหนด
กรณีของท่าน ซึ่งทำประโยชน์ในที่ดินในส่วนของท่านที่เคยแบ่งกันทำประโยชน์ โดยสิทธิในที่ดินเป็นชื่อของลุงท่าน หากตกลงกันไม่ได้ ลุงท่านไม่แบ่งที่ดิน (โอนสิทธิ)ให้ ท่านสามารถยื่นคำร้องให้ ส.ป.ก.จังหวัดให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยหาทางออกของเรื่องให้ท่านได้ พร้อมนี้ ให้แจ้ง ส.ป.ก.จังหวัดว่าท่านได้ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ร่วมกับพ่อท่านมาก่อนที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินหรือทำประโยชน์มาตั้งแต่เมื่อใด เพื่อให้ ส.ป.ก.จังหวัดจะได้ดำเนินการสอบสวนให้ได้ข้อเท็จจริง หาข้อยุติ แก้ไขปัญหาให้ท่านต่อไป
๑. ส.ป.ก. กำหนดให้ ส.ป.ก.จังหวัดส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานการขอออกโฉนดที่ดินโดยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ให้ ส.ป.ก.เพื่อตรวจสอบกับแผนที่รูปถ่ายทางอากาศฉบับที่จัดทำขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการ มีอยู่ถึงร่องรอยการทำประโยชน์ ก่อนนำไปประกอบการพิจารณาคัดค้านหรือไม่คัดค้านแจ้งผลให้สำนักงานที่ดิน ซึ่งจะดูว่าการแจ้งการครอบครองที่ดินซึ่งอยู่ในเขตป่าไม้นั้น มีร่องรอยการทำประโยชน์ในสมัยที่แจ้งนั้นจริงเท็จประการใด
๒. การแจ้งผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ของ ส.ป.ก.โดยสำนักจัดการแผนที่และสารบบที่ดินดังกล่าว เป็นเพียงเพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาของ ส.ป.ก.จังหวัดเท่านั้น ซึ่ง ส.ป.ก.ไม่ทราบข้อเท็จจริงตามสภาพของพื้นที่ได้
๓. การพิจารณาว่าคัดค้านหรือไม่คัดค้านของ ส.ป.ก.จังหวัด ควรพิจารณาในภาพรวมของ ส.ค.1.ว่าได้มีการทำประโยชน์หรือไม่.หรือการใช้ประโยชน์จากลักษณะการเพาะปลูกพืชแห่งท้องถิ่นนั้น สำหรับการไม่ทำประโยชน์.ซึ่งได้ระบุว่าเป็นไม้พุ่มหรือทุ่งหญ้านั้น.เป็นการประมวลตามมิติของภาพตามหลักวิชาการ.ซึ่งหากได้พิจารณากับข้อเท็จจริงของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่หากพบว่ามีการปลูกพืชในเชิงวนเกษตรหรือสวนสมรม (ลักษณะการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หลายชนิดให้เกื้อ***ลกันของภาคใต้) ทำให้แผนที่รูปถ่ายทางอากาศระบุว่าไม่ทำประโยชน์ซึ่งควรนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบด้วย.
ทั้งนี้ นอกจากร่องรอยการทำประโยชน์ตามที่ได้แจ้งไว้แล้ว ส.ป.ก.จังหวัดต้องตรวจสอบด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวมีแนวเขตชัดเจนไม่ล้ำแปลงรอบข้างและข้อมูลการแจ้ง ส.ค.๑ ของราษฎรชอบด้วยกฎหมายไม่ทับซ้อนกับที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ รวมไปถึง หากเนื้อที่ที่รังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามหลักฐาน ส.ค.๑ ได้มีการปฏิบัติตามมาตรา ๕๙ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดินประกอบตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
๕. ในการพิจารณาคัดค้านหรือไม่คัดค้านเป็นอำนาจหน้าที่ของ ส.ป.ก.จังหวัด โดยในการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ได้ดำเนินการอ่านแปลตามข้อเท็จจริง.จากภาพถ่ายทางอากาศ
๖. สำหรับผู้ถือครองที่ดินรายใด ได้รับผลกระทบจากการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของตน จาก ส.ป.ก.จังหวัด โดยมิได้รับความเป็นธรรม สามารถยื่นฟ้องต่อศาลให้พิจารณา ให้เกิดความเป็นธรรมได้ โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดว่า ในเรื่องใด และระยะเวลาใด ตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้
ส.ป.ก.ขอเรียนให้ท่านทราบเพิ่มเติมว่า หน้าที่ของ ส.ป.ก.จะดำเนินการให้สิทธิในที่ดินแก่ผู้ไม่มีที่ดินทำกิน ผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ให้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองต่อไปสู่ลูกหลานในอนาคต และยังต้องคุ้มครองรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรไว้ให้ผู้เป็นเกษตรต่อไป กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้รับสิทธิในที่ดินจาก ส.ป.ก.ต้องเป็นเกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้น มิได้ให้ที่ดินเป็นทรัพย์ที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้อย่างอิสระในตลาดซื้อ ขายที่ดิน
อ้างอิงกระทู้ (Quote Tpoic ID) 864 โดย (By) somsak.p : คำตอบ : ตามคำถามของท่าน ส.ป.ก.ขอเรียนให้ท่านทราบและตอบคำถามของท่าน ดังนี้ ที่ดินของรัฐที่ ส.ป.ก.ได้รับมอบมาดำเนินการจัดให้เกษตรกรซึ่งถือครองทำประโยชน์อยู่เดิมเข้าทำประโยชน์ จะมอบสิทธิเป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) กรณี ที่ดินแปลงเกษตรกรรมหรือที่ดินทำกิน ใช้แบบพิมพ์จำนวน ๔ แบบ คือ (๑) ส.ป.ก. ๔-๐๑ (๒) ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก (๓) ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข และ (๔) ส.ป.ก. ๔-๐๑ ค ที่ออกให้อยู่ในปัจจุบัน คือ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ข สำหรับแบบอื่นๆ ได้ยกเลิกการออกให้ แต่ที่ออกให้ไปแล้วยังคงใช้ได้และถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับที่ดินแปลงชุมชนหรือที่ดินอยู่อาศัย จะใช้แบบ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ช ที่ดินตามที่ให้สิทธิกับเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ผู้ที่มีสิทธิไปยื่นขอออกโฉนดที่ดินกับกรมที่ดินได้จึงมีเพียง ส.ป.ก. เท่านั้น เกษตรกรที่ได้รับเอกสารสิทธิตามที่กล่าวมาเป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งไม่สามารถไปยื่นขอออกโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.๓ กับกรมที่ดินได้ ดังนั้น ส.ป.ก.ไม่สามารถที่จะโอนที่ดินไปให้กรมที่ดินดูแลได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินตามที่กฎหมายกำหนด โดยการจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์หมุนเวียนสู่ผู้ไม่มีที่ดินทำกินต่อไป ตอบโดย สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]